หลักฐานเอกสารโบราณปรากฏนามเมืองหรือรัฐสำคัญแห่งหนึ่ง บนแหลมมลายู ซึ่งออกเสียง ตามสำเนียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน) ลัคาโศกะ อิลังคาโศกะ (ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ) เล็งกุสะ (ภาษาขวา) ลังคะศุกา (ภาษาอาหรับ) ลังกะสุกะ สังกาสุกะ (ภาษามลายู) โดยนักวิชาการสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกันที่ น่าจะเคยตั้งอยู่ในรัฐเคดาห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และจังหวัดปัตตานีในปัจจุบัน
นักวิชาการทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีเชื่อว่า ปัตตานี เป็นที่แวะพักจอดเรือ เพื่อแลกเปลี่ยนซื้อ-ขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาวอินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจีนทางตะวันออกและชนพื้นเมืองบน แผ่นดินและหมูเกาะใกล้เคียงต่างๆ
นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าเดิมปัตตานีเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่และมีความเจริญรุ่งเรืองในอดีต เนื่องจากมีหลักฐานทาง โบราณคดีว่า บริเวณอำเภอยะรัง มีซากร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกันถึง 3 เมือง มีวัตถุโบราณ สถานที่ศาสนสถานหลายแห่ง นอกจากนี้ยังค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก โดยวัตถุบางชิ้นมีตัวอักษร ซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) ภาษาสันสกฤตเขียนเป็น คาถาในพุทธศาสนาลัทธิ มหายาน พระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์ และเศษภาชนะดินเผาที่มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 ถึง 13 สอดคล้องกับจดหมาย เหตุจีนที่ได้กล่าวถึงไว้ นอกจากนั้นหลักฐานได้ขุดค้นพบ ยังแสดงให้เห็นด้วยว่าบริเวณที่ตั้งอำเภอยะรังในปัจจุบัน เป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองในอดีตและต่อมาได้ย้ายเมืองปัตตานีมาบริเวณบ้านพรือเซะ สันนิษฐานว่า เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ทำให้เมืองเดิมไม่เหมาะในการเป็นเมืองท่าการค้า
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ภาคใต้ของประเทศไทย ห่างจากรุงเทพฯ 1,055 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 1,940.35 ตร.กม. หรือ ประมาณ 1,212,723 ไร่ มีอาณาเขต ติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง
ทิศเหนือ ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตอำเภอเมืองยะลา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และเขตอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตอำเภอเทพา และอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
สภาพภูมิประเทศ
แบ่งเป็น 3 ลักษณะ ประกอบด้วย พื้นราบชายฝั่งทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัดมีหาดทรายยาว และเป็นที่ราบชายฝั่งกว้างประมาณ 10 – 30 กิโลเมตร พื้นที่ราบลุ่ม บริเวณตอนกลาง และตอนใต้ของจังหวัด มีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่านที่ดินมีความเหมาะสม ในการเกษตรกรรมและพื้นที่ภูเขา ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนน้อยอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอโคกโพธิ์ อำเภอกะพ้อ และทางตะวันออกของอำเภอสายบุรี
ลักษณะอากาศทั่วไป
จังหวัดปัตตานี อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนตั้งแต่ ภาคกลางขึ้นไปมีอากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป แต่ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลงไปกลับมีฝนตกชุกเพราะลมมรสุมนี้ พัดผ่านอ่าวไทยจึงพัดพาเอาไอน้ำไปตกเป็นฝนทั่วไป ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป อากาศจึงไม่หนาวเย็นดังเช่นภาคอื่นๆ ที่อยู่ทางตอนบนของ ประเทศ และจังหวัดปัตตานีซึ่งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันออกได้รับอิทธิพลของลมนี้เต็มที่จึงมีฝนตกอยู่ในเกณฑ์ปานกลางและมีอากาศเย็นเป็นครัั้งคราว ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือลมมรสมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย จึงพาเอาไอน้ำและความชุ่มชื้นมาสู่่ประเทศไทย แต่เนื่องจากเทือกเขาตะนาวศรีด้านตะวันตกซึ่งปิดกั้นกระแสลมเอาไว้ จึงทำให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและจังหวัดปัตตานีมีฝนน้อยกว่าภาคใต้ ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมมรสุม
การคมนาคม
โดยรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ไปปัตตานีโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทาง 90 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 จนถึงจังหวัดชุมพร จากนั้นจึงใช้ทางหลวงหมายเลข 41 หรือ 42 ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปากน้ำเทพา เข้าสู่ตัวเมืองปัตตานี
โดยรถประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถประจำทางทั้งรถธรรมดา และปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุกวัน ตั้งแต่ช่วงเวลา 18.00 น. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : 0 2431 1957 หรือ สถานีขนส่งปัตตานี : 0 7334 8816
ตรวจสอบตารางเวลารถประจำทาง
โดยรถไฟ
จากสถานีกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) มีขบวนรถด่วนและรถเร็วบริการถึงสถานีโคกโพธิ์ ทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ จากหน่วยบริการเดินทาง ภายในบริเวณสถานี กรุงเทพฯ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม : 0 2223 7010, 0 2223 7020
ตรวจสอบตารางเวลารถไฟ