นครศรีธรรมราช

เป็นเมืองโบราณที่มีความสําคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มาไม่น้อยกว่า 1800 ปีมาแล้ว หลัก ฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ ว่านครศรีธรรมราช มีกําเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อย จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า “นครศรีธรรมราช”ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอด กันมา และสําเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่าน ในระยะเวลาที่ต่างกันเช่น ตามพลิงคม ตามพรลิงค์ มัทธาลิงคม ตามพลิงเกศวร โฮลิง โพลิง เชียะโท้ว โลแค็ก (Locae) สิริธรรมนคร ศรีธรรมราช ลิกอร์(Ligor) ละคอน คิวตูตอน สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และเมือง นคร เป็นต้น
คำว่า”นครศรีธรรมราช” น่าจะมาจากสร้อยพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครอง นครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช คํานี้ แปลความได้ว่า “นครอันงานสง่าแห่ง พระราชาผู้ทรงธรรม” และธรรมของราชา แห่งนครนี้ก็คือ ธรรมแห่ง พระพุทธศาสนา

ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต
จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 780 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 9,942,502 ตร.กม หรือประมาณ 6,2 4,064 ไร่ มีพื้นที่มาก เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ และเป็นอันดับที่ 16 ของประเทศ หรือประมาณ ร้อยละ 1.98 ของ พื้นที่ทั้งประเทศ ที่ตั้งของตัวจังหวัด ตั้งอยู่ประมาณละติจูด 9 องศาเหนือและลองติจูด 100 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดสุราษฏร์ธานีและอ้าวบ้านดอน
ทิศใต้ ติดต่อกับอําเภอระโนด จังหวัดสงขลา อําเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง อําเภอห้วยยอดจังหวัดตรัง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวไทยเป็นชายฝังทะเล มีความยาวตั้งแต่ตอนเหนือของอําเภอขนอมลงไปทางใต้ของอําเภอหัวไทรประมาณ 225 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดสุราษฏร์ธานีและจังหวัดกระบี่

ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แตกต่างไปตามลักษณะ ของ เทือกเขานครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเทือกเขาที่มีความยาวตามแนวยาวของคาบสมุทร เป็นผลให้ ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดนครศรีธรรมราช แบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
1. บริเวณเทือกเขาตอนกลาง
2. บริเวณที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออก
3. บริเวณที่ราบด้านตะวันตก

1. บริเวณเทือกเขาตอนกลาง
ได้แก่บริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราช มีอาณาเขตตั้งแต่ตอนเหนือของ จังหวัดลงไป ถึงตอนใต้สุด บริเวณพื้นที่ของอําเภอที่อยู่ในเขตเทือกเขาตอนกลางได้แก่ อําเภอสิชล อําเภอ ขนอม อําเภอท่าศาลา อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช อําเภอลานสกา อําเภอพรหมคีรี อําเภอ ร่อนพิบูลย์ อําเภอชะอวด อําเภอจุฬาภรณ์ และอําเภอพระพรหม ในเขตเทือกเขานี้มีภูเขาสูง สุดในจังหวัด คือเขาหลวง ซึ่งสูงประมาณ 1,835 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
นอกจากนี้เทือกเขาดังกล่าวยังเป็นเส้นแบ่งเขตอําเภอ ระหว่างอําเภอทุ่งสง อําเภอฉวาง กับอําเภอชะอวด อําเภอร่อนพิบูลย์ อําเภอลานสกา อําเภอเมืองนครศรีธรรมราช อําเภอพรหมคีรี อําเภอท่าศาลา และเป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช กับอําเภอบ้านนาสาร อําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี อีกด้วย
บริเวณเทือกเขาตอนกลาง มีเส้นทางคมนาคมผ่านจากบริเวณที่ราบชายฝั่ง ตะวันออก ไปยังบริเวณที่ราบด้านตะวันตกได้ คือทางหลวงหมายเลข 40 ซึ่งข้ามจากอําเภอสิชล อําเภอ ขนอมสู่เขตอําเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฏร์ธานี และทางหลวง หมายเลข 40 5 จากอําเภอ ลานสกา ไปสู่อําเภอฉวาง ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช และทางหลวงหมายเลข 4 จาก อําเภอร่อนพิบูลย์ ไปสู่อําเภอทุ่งสง

2. บริเวณที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออก
ได้แก่บริเวณตั้งแต่เทือกเขาตอนกลางไปทางตะวันออกถึงฝั่งทะเลอ่าวไทย จําแนกได้ เป็น 2 ตอน คือ ตั้งแต่อําเภอเมืองนครศรีธรรมราชลงไปทางใต้ เป็นที่ราบ ที่มีความกว้างจาก บริเวณเทือกเขาตอนกลางไปถึงชายฝั่งทะเลระยะทางประมาณ 95 กิโลเมตร มีแม่น้ำลําคลอง ที่มีต้นน้ำเกิดจากบริเวณเทือกเขาตอนกลางไหลลงสู่อ่าวไทยหลายสาย นับเป็นที่ราบ ซึ่งมีค่า ทางเศรษฐกิจของจังหวัด ลําน้ำสําคัญ ได้แก่ แม่น้ำปากพนัง และมี คลองสายเล็ก ในเขต อําเภอเมืองนครศรีธรรมราชอีกหลายสาย เช่น คลองปากพญา และคลองท้ายวังเป็นต้น อีก บริเวณหนึ่ง คือตั้งแต่อําเภอท่าศาลาขึ้นไปทางทิศเหนือ เป็นบริเวณฝั่งแคบ ๆ ไม่เกิน 15 กิโลเมตร อําเภอที่อยู่ในเขตที่ราบด้านนี้คือ อําเภอขนอม อําเภอสิชล อําเภอท่าศาลา อําเภอ เมืองนครศรีธรรมราช อําเภอปากพนัง อําเภอเชียรใหญ่ อําเภอหัวไทร และอําเภอชะอวด

3. บริเวณที่ราบด้านตะวันตก
ได้แก่ บริเวณที่ราบระหว่างเทือกเขานครศรีธรรมราช และเทือกเขาบรรทัด จึงมี ลักษณะเป็นเนินเขาอยู่เป็นแห่ง ๆ อําเภอที่อยู่บริเวณที่ราบด้านนี้ คือ อําเภอพิปูน อําเภอทุ่ง ใหญ่ อําเภอฉวาง อําเภอนาบอน อําเภอบางขัน อําเภอถ้ำพรรณรา และอําเภอทุ่งสง ลําน้ำ สําคัญ ได้แก่ ต้นน้ำของแม่น้ำตาปีไหลผ่าน อําเภอพิปูน อําเภอฉวาง และอําเภอทุ่งใหญ่ นอก จากนี้ ยังมีลําน้ำที่เป็นต้นน้ำของแม้น้ำตรังอีกด้วย คือน้ำตกโยง และคลองวังหีบ ซึ่งไหลผ่าน อําเภอทุ่งสง ไปยังอําเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง และออกทะเลอันดามัน ที่อําเภอกันตัง

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของนครศรีธรรมราช จากสภาพที่ตั้งใกล้เส้นศูนย์สูตร มีภูเขาและเป็นคาบสมุทรทั้งสองด้าน กล่าวคือ ด้านตะวันออกเป็นทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ด้านตะวันตก เป็นทะเลอันดามันมหาสมุทรอินเดีย ทําให้นครศรีธรรมราช ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากมหาสมุทรอินเดียและพายุหมุนเขตร้อน จากทะเลจีนใต้ สลับกัน ดังนี้

1. ลมมรสุม ในแต่ละปี จังหวัดนครศรีธรรมราชจะได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ดังนี้
1.1 ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมนี้มีทิศทางพัดผ่านมหาสมุทรอินเดียและ ทะเลอันดา มันเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณชายฝั่งตะวันตกจึงมีฝนตกชุก ในส่วนของจังหวัด นครศรีธรรมราช นั้นเนื่องจากมีเทือกเขาทางตะวันตกและตอนกลางเป็นแนวกั้นทิศทางลม ทําให้ฝนตกไม้มากนัก อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะอยู่ในช่วงประมาณ เดือน พฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม
1.2 ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมนี้พัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ ทําให้เกิดฝนตก ชุกในจังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัด ตั้งอยู่ในด้านรับลมของ เทือกเขา อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะทําให้ฝนตกมากในช่วงประมาณเดือน พฤศจิกายน – มกราคม

2. พายุหมุนเขตร้อน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อลักษณะอากาศของจังหวัดนครศรีธรรม ราช กล่าวคือ พายุหมุนเขตร้อนเป็นระบบความกดอากาศต่ำที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ ต่ำกว่า 2 องศา ละติจูดก่อตัวขึ้นเหนือน่านน้ำในเขตร้อนระหว่างละติจูด ประมาณ 5-20 องศาเหนือ โดยไม่มีระบบแนวปะทะเข้ามาเกี่ยวข้องและมีการหมุนเวียนชัดเจน ซึ่งตามข้อ ตกลงระหว่างประเทศได้แบ่งชนิดของพายุหมุนเขตร้อนตามความรุนแรง ดังต่อไปนี้
2.1พายุดีเปรสชั่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วสูงสุด ใกล้ศูนย์กลางที่ผิวพื้น ไม่ เกิน 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ใช้สัญลักษณ์ D
2.2 พายุโซนร้อน เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง ที่ผิวพื้น ตั้งแต่ระหว่าง 34-63 นอต (63-117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2.3 พายุใต้ฝุ่น เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็วสูงสุดใกล้ศูนย์กลางที่ผิวพื้น ตั้งแต่ 64 นอต (118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขึ้นไป
จังหวัดนครศรีธรรมราช ในช่วงตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป จนสิ้น เดือน พฤศจิกายน มีโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากพายุหมุนเขตร้อน เพราะใน ช่วงดังกล่าว พายุมีโอกาสที่จะเคลื่อนเข้าสู่จังหวัดและก่อให้เกิดผลกระทบ โดยตรงมากที่สุด ซึ่งจากข้อมูล ตั้งแต่ พ.ศ 2494 -2539 ปรากฏว่าพายุเคลื่อนจากอ่าวไทย และขึ้นฝั่งที่จังหวัด นครศรีธรรมราช 10 ลูก ส่วนใหญ่มีกําลังแรงเป็นพายุดีเปรสชั่น แต่เนื่องจากสภาพภูมิ ประเทศที่มีชายฝั่ง ทะเลเป็นแนวยาวติดต่อ่าวไทย จังหวัด นครศรีธรรมราชจึงมีโอกาสได้ รับผลกระทบจากพายุดีเปรสชั่นด้วย โดยมีพายุ 2 ลูก จากจํานวนทั้งหมด 10 ลูก เคลื่อนที่ขึ้น ฝั่งขณะมีกําลังแรงขั้นพายุโซนร้อน ส่งผลกระทบ อย่างรุนแรงต่อจังหวัดทั้งจากกระแสลมที่ พัดแรงจัด และฝนที่ตกหนักมากจนเกิดอุทกภัย เป็นบริเวณกวาง พายุ 2 ลูกดังกล่าวได้แก่ พายุ โซนร้อน “แฮเรียต” ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณ แหลมตะลุมพุก เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ 2505 นับเป็นภั ยธรรมชาติที่รุนแรง ที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช อีกลูกหนึ่ง คือ พายุโซนร้อน “ฟอร์เรสต์” ที่เคลื่อนขึ้นฝั่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ 2535

ลักษณะฤดูกาล

นครศรีธรรมราช มี 2 ฤดู คือ
1 . ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน มีอากาศร้อนตลอดฤดูกาล
2. ฤดูฝน แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่
2.1 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
2.2 ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน – มกราคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือช่วงนี้มีฝนตกหนาแน่น

ทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรดิน นครศรีธรรมราชมีเนื้อที่ประมาณ 6.2 4 ล้านไร่ ดินมีลักษณะ แตกต่าง กันไปตามเขตพื้นที่ ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็นดินคละ ซึ่งส่วนหนึ่งจะเป็นพื้นที่ เพาะปลูกไม้ ยืนต้น ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ปลูกยางพารา โดยเฉพาะในเขตอําเภอฉวาง ทุ่งใหญ่ ทุ่งสง และ อําเภอท่าศาลา รองลงมาเป็นพื้นที่ดินเหมาะแก่การทํานาทั่วไป ลักษณะของดิน มีความอุดม สมบูรณ์จากธรรมชาติหลากหลาย จนมีทรัพยากรดินที่แตกต่างกัน

นครศรีธรรมราชเมืองที่มีความหลากหลายทางศาสนา พลเมืองอยู่ร่วมกันอย่าง เอื้ออาทร มีแหล่งบ่มเพาะบุคคลด้วยด้วยสถาบันการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบ และมีประเพณี วัฒนธรรมที่สืบทอดอย่างยาวนาน