ร้อยเอ็ด (เดิมสะกดว่า ร้อยเอ็จ) เป็นจังหวัดบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานตอนกลางของประเทศไทย

ประวัติความเป็นมาของจังหวัด

โบราณ เรียกว่า เมืองสาเกตนครแห่งอาณาจักรกุลุนทะ ต่อมาอาณาจักรกุลุนทะ ถึงคราวเสื่อม เมืองสาเกตร้างไป บริเวณรอบบึงสระมีต้นกุ่มขึ้นทั่วไป จึงเรียกบริเวณนั้นว่า “บ้านกุ่ม” ตำนานอุรังคธาตุ
2255

(จ.ศ.1037) เมืองร้อยเอ็ด ปรากฏชื่อเมืองตามพงศาวดารในสมัยอยุธยา
– เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร เจ้าผู้ครองจำปาศักดินัคบุรีศรี (เดิมชื่อ นครกาละจำบากนาคบุรีศรี) โปรดให้ “จารแก้ว” ปกครอง “บ้านทุ่ง” ขึ้นต่อนครจำปาศักดิ์ จนถึง พ.ศ. 2268 สมัยอยุธยา
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3
พ.ศ.2301 – 2310
2268
(จ.ศ.1087) ท้าวมืด บุตรจารแก้ว สืบต่อ (จนถึง พ.ศ. 2306)
– เจ้าสร้อยศรีสมุทพุทธางกูร ยกฐานะบ้านทงขึ้นเป็น “เมืองทุ่ง” ตั้งให้ท้าวมืด เป็นเจ้าเมือง สมัยอยุธยา
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3
พ.ศ.2301 – 2310
2306
(จ.ศ.1125) ท้าวทน น้องท้าวมืด ปกครองแทน 4 ปี (จนถึง พ.ศ. 2310)
– ท้าวเชียง และท้าวสูน บุตรท้าวมืด บาดหมางกับท้าวทน จึงไปขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระบรมราชาที่ 3 ขอกองทัพมาปราบท้าวทน
– ท้าวทน หนีไปอยู่ ณ บ้านกุดจอก
– ท้าวเชียง เป็นเจ้าเมืองทง (ท้าวสูน เป็นอุปฮาด) ขาดจากการปกครองของนครจำปาศักดิมาขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา สมัยอยุธยา
สมเด็จพระบรมราชาที่ 3
พ.ศ.2301 – 2310
2315
(จ.ศ.1134) พระยากรมท่า พระยาพรหม เห็นว่า “เมืองทุ่ง” มีชัยภูมิไม่เหมาะที่จะขยายเป็นเมืองใหญ่ (ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเซ) จึงหารือท้าวเซียง และท้าวสูน
– ย้ายเมืองทุ่ง ไปตั้งใหม่ที่ดงเท้าสาร (ที่ตั้งเมืองเก่าของตำบลภูมิ)
– สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ตั้ง “ดงเท้าสาร” เป็นเมือง ชื่อว่า “เมืองสุวรรณภูมิ” สมัยธนบุรี
พระเจ้าตากสิน
พ.ศ. 2310 – 2325
2318
(จ.ศ.1137) ท้าวทน (เจ้าเมืองทุ่งคนเก่า) ขอตั้ง “บ้านกุ่ม” ซึ่งเป็นที่ตั้ง เมืองร้อยเอ็ดเก่าขึ้นเป็นเมือง
– สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ยก “บ้านกุ่ม” ขึ้นเป็น “เมืองร้อยเอ็ด” ตามนามเมืองเดิม ขึ้นต่อกรุงธนบุรี ตั้ง “ท้าวทน” เป็น “พระขัติยวงศา” เจ้าเมืองร้อยเอ็ดคนแรก (ครองเมืองร้อยเอ็ด 8 ปี จนถึง พ.ศ. 2326 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ : พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
จุฬาโลกมหาราช สมัยธนบุรี
พระเจ้าตากสิน
พ.ศ. 2310 – 2325
2408
(จ.ศ.1227) พระขัติยวงศา (จันทร์) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ขอตั้ง “บ้านลาดกุดยางใหญ่” เป็นเมือง
– พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านลาด
กุดยางใหญ่ เป็น “เมืองมหาสารคาม” ขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด ให้ท้าว มหาไชย (กวด) บุตรอุปฮาด (สิงห์) เป็น “พระเจริญราชเดช” เจ้าเมืองมหาสารคาม สมัยรัตนโกสินทร์
พระจอมเกล้าฯ
พ.ศ. 2394 – 2411
2433
(ร.ศ. 109) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งหน้าที่ข้าหลวงเป็น 4 กอง
– เมืองร้อยเอ็ด อยู่ในบังคับของข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี เรียกว่า
“หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ” สมัยรัตนโกสินทร์
พระจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2411 – 2453
2434
(ร.ศ. 110) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ทรงพระราชปรารภว่า…
หัวเมืองในพระราชอาณาเขตที่ได้แบ่งปันไว้โดยกำหนดแต่ก่อนนั้น ยังหาสมควรแก่กาลสมัยไม่…) โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปกครองใหม่ เป็น 4 กอง
– เมืองร้อยเอ็ดอยู่ในบังคับของข้าหลวงเมืองลาวกาว (พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่) ตั้งรักษาอยู่ ณ เมืองนคร
จำปาศักดิ
– พระขัติยวงษา (เภา) ผู้ว่าราชการเมืองร้อยเอ็ด ถึงแก่กรรม สมัยรัตนโกสินทร์
พระจอมเกล้าฯ
พ.ศ. 2411 – 2453
2435
(ร.ศ. 111) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย
– เมืองร้อยเอ็ด ขึ้นกับมณฑลลาวกาว ตั้งที่บัญชาการมณฑลที่เมืองอุบลราชธานี (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มณฑลอีสาน) สมัยรัตนโกสินทร์
พระจอมเกล้าฯ
พ.ศ. 2411 – 2453
2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลร้อยเอ็ดและมณฑลอุบล
– มณฑลร้อยเอ็ด มี 3 เมือง คือเมืองร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ สมัยรัตนโกสินทร์
พระมงกุฎเกล้า
พ.ศ. 2453 – 2468
2465 ให้รวบรวมมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล มณฑลอุดรขึ้นเป็นภาคอีสานตั้งที่บัญชาการภาคที่มณฑลอุดร สมัยรัตนโกสินทร์
พระมงกุฎเกล้า
พ.ศ. 2453 – 2468
2468 ให้ยุบเลิกภาคอีสานแล้วเปลี่ยนเป็น มณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบล มณฑลอุดร ตามเดิม โดยมณฑลร้อยเอ็ดมีพระยาแก้วโกรพ (ทองสุข ผลพันธ์ทิน) เป็นสมุหเทศาภิบาล สมัยรัตนโกสินทร์
พระมงกุฎเกล้า
พ.ศ. 2453 – 2468
2469 ให้ยุบมณฑลร้อยเอ็ด มณทลอุบล มณฑลอุดร เป็นจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดอุดร ให้ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา
– จังหวัดร้อยเอ็ด มีมหาอำมาตย์เอก พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด สมัยรัตนโกสินทร์
พระปกเกล้า
พ.ศ. 2468 – 2484
ทรงสละราชสมบัติ
2 มีนาคม 2477
2475 เปลี่ยนการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย สมัยรัตนโกสินทร์
พระปกเกล้า
พ.ศ. 2468 – 2484
ทรงสละราชสมบัติ
2 มีนาคม 2477
2476 รัฐบาลออกพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2476
– จัดระเบียบบริราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัดและอำเภอ
– จังหวัดร้อยเอ็ด มี 9 อำเภอ คือ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ อำเภอโพนทอง อำเภออาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอจตุรพักตรพิมาน
– มหาอำมาตย์โท พระชาติตระการ (ม.ร.ว.จิตร คเณจร) ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด สมัยรัตนโกสินทร์
พระปกเกล้า
พ.ศ. 2468 – 2484
ทรงสละราชสมบัติ
2 มีนาคม 2477

ข้อมูลจังหวัด

ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัดร้อยเอ็ดตั้งอยู่ตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างละติจูดที่ 15 องศา 24 ลิปดาเหนือ ถึง 16 องศา 19 ลิปดาเหนือ และลองจิจูดที่ 103 องศา 16 ลิปดาตะวันออก ถึง 104 องศา 21 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 512 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 8,299.46 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,187,156 ไร่ มีเขตแดนติดต่อกับจังหวัดอื่นดังนี้
– ทิศเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือ จรดจังหวัดกาฬสินธุ์
– ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จรดจังหวัดมุกดาหาร
– ทิศตะวันออก จรดจังหวัดยโสธร
– ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จรด จังหวัดศรีสะเกษ
– ทิศใต้ จรดจังหวัดสุรินทร์
– ทิศตะวันตก จรดจังหวัดมหาสารคาม

ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบสูง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 120-160 เมตร มีภูเขาทางตอนเหนือซึ่งติดต่อจากเทือกเขาภูพาน บริเวณตอนกลางของจังหวัด มีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น บริเวณตอนล่างมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำมูลและสาขา ได้แก่ ลำน้ำชี ลำน้ำพลับพลา ลำน้ำเตา เป็นต้น บริเวณที่ราบต่ำอันกว้างขวาง เรียกว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ มีลักษณะเป็นที่ราบแอ่งกระทะ ประกอบด้วยพื้นที่บางส่วนของ 5 จังหวัด รายละเอียดดังนี้

พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ปัจจุบัน มีจำนวน 2,107,690 ไร่
1. จังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จำนวน 986,807 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.82
2. จังหวัดสุรินทร์มีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จำนวน 575,993 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 27.33
3. จังหวัดศรีษะเกษมีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จำนวน 287,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.62
4. จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จำนวน 193,890 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.20
5. จังหวัดยโสธรมีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จำนวน 64,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.04

ลักษณะภูมิอากาศ
จังหวัดร้อยเอ็ดได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ สภาพภูมิอากาศอยู่ในประเภทฝนเมืองร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,196.8 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ฝนตกชุกในเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม อากาศร้อนแห้งแล้งในเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม

การคมนาคม

ทางรถยนต์ : ห่างจากกรุงเทพมหานคร ระยะทางประมาณ 520 กม. เส้นทางที่สะดวกคือใช้เส้นทางถนนพหลโยธินเข้าสู่สระบุรี และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมิตรภาพ ผ่านจังหวัดนครราชสีมา อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ถนนแจ้งสนิท ผ่านจังหวัดมหาสารคาม แล้วเข้าสู่จังหวัดร้อยเอ็ด
ทางรถโดยสารประจำทาง:โดยที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดร้อยเอ็ด
และยังมีหลายบริษัทที่เปิดให้บริการ โดยผ่านจังหวัดร้อยเอ็ด หลายบริษัท
ในอำเภอต่างๆ มีรถประจำทางบริการ ได้แก่ อำเภอจังหาร อำเภอโพนทอง อำเภอหนองพอก อำเภอเสลภูมิ อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอพนมไพร อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอโพนทราย เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางไปในจังหวัดต่างๆด้วย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น

ทางรถไฟ : จังหวัดร้อยเอ็ดนั้น ปัจจุบันยังไม่มีทางรถไฟตัดผ่าน อย่างไรก็ตามสามารถใช้บริการได้ที่สถานีรถไฟขอนแก่น ในอำเภอเมืองขอนแก่น ดังนี้
สถานีรถไฟขอนแก่น จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถยนต์มาจังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอเมืองร้อยเอ็ด)
สำหรับในอนาคต มีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดินที่จะเวนคืน

ทางเครื่องบิน : ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด หรือ สนามบินร้อยเอ็ด (Roi Et Airport ; รหัสสนามบิน : ROI) ตั้งอยู่เลขที่ 135 ถนนร้อยเอ็ด-โพนทอง (ทางหลวงหมายเลข 2044) ตำบลมะอึ และตำบลหนองพอก อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 11 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมการบินพลเรือน กระทรวงคมนาคม[1] ประกอบด้วยอาคารที่พักผู้โดยสารขนาด 3,013 ตารางเมตร ประตูผู้โดยสารขาเข้าและขาออกอยู่ชั้นเดียวกัน ทางวิ่ง (รันเวย์) 45 x 2,100 เมตร ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด มีสายการบินที่ให้บริการอยู่ 3 สายการบิน
ให้บริการระหว่างท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานร้อยเอ็ด
-สายการบินนกแอร์ เก็บถาวร 2015-02-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ให้บริการทุกวันๆละ 2 เที่ยวบิน
-สายการบินไทยแอร์เอเชีย ให้บริการทุกวันๆละ 4 เที่ยวบิน รวมวันละ 6 เที่ยวบิน
-สายการบินไทยสมายล์ ให้บริการระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานร้อยเอ็ด

การคมนาคมภายในจังหวัด
ในการเดินทางภายในจังหวัดก็มีรถโดยสารประจำทางให้บริการ และรถสองแถว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง สามล้อรับจ้าง และรถแท็กซี่มิเตอร์ (2 กม. แรก 30 บาท กม.ต่อไป 4 บาท)
ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ
โดยอำเภอที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ อำเภอธวัชบุรี ระยะทาง 12 กิโลเมตร ใช้เวลา 18 นาที ส่วนอำเภอที่อยู่ไกลที่สุด คือ อำเภอโพนทราย ระยะทาง 84 กิโลเมตร ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 20 นาที ต่อไปเป็นระยะทางของแต่ละอำเภออำเภอธวัชบุรี 12 กิโลเมตร
อำเภอจังหาร 14 กิโลเมตร
อำเภอเชียงขวัญ 21 กิโลเมตร
อำเภอศรีสมเด็จ 26 กิโลเมตร
อำเภอจตุรพักตร์พิมาน 27 กิโลเมตร
อำเภอเมืองสรวง 28 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งเขาหลวง 29 กิโลเมตร
อำเภอเสลภูมิ 32 กิโลเมตร
อำเภออาจสามารถ 36 กิโลเมตร
อำเภอโพธิ์ชัย 40 กิโลเมตร
อำเภอเกษตรวิสัย 49 กิโลเมตร
อำเภอโพนทอง 49 กิโลเมตร
อำเภอสุวรรณภูมิ 54 กิโลเมตร
อำเภอปทุมรัตต์ 66 กิโลเมตร
อำเภอพนมไพร 67 กิโลเมตร
อำเภอเมยวดี 73 กิโลเมตร
อำเภอหนองฮี 74 กิโลเมตร
อำเภอหนองพอก 75 กิโลเมตร
อำเภอโพนทราย 84 กิโลเมตร

การปกครองส่วนท้องถิ่น
จังหวัดร้อยเอ็ดมีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด 203 แห่ง แบ่งออกเป็น 1 เทศบาลเมือง 72 เทศบาลตำบล 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ 129 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

อำเภอเมืองร้อยเอ็ด
-เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด
-เทศบาลตำบลโนนตาล
-เทศบาลตำบลปอภาร
-เทศบาลตำบลสีแก้ว

อำเภอเกษตรวิสัย
-เทศบาลตำบลกู่กาสิงห์
-เทศบาลตำบลเกษตรวิสัย
-เทศบาลตำบลเมืองบัว

อำเภอปทุมรัตต์
-เทศบาลตำบลปทุมรัตต์
-เทศบาลตำบลโพนสูง
-เทศบาลตำบลโนนสวรรค์

อำเภอจตุรพักตรพิมาน
-เทศบาลตำบลจตุรพักตรพิมาน
-เทศบาลตำบลหนองผือ
-เทศบาลตำบลหัวช้าง
-เทศบาลตำบลดงแดง
-เทศบาลตำบลโคกล่าม
-เทศบาลตำบลเมืองหงส์
-เทศบาลตำบลลิ้นฟ้า

อำเภอพนมไพร
-เทศบาลตำบลพนมไพร
-เทศบาลตำบลโพธิ์ชัย

อำเภอธวัชบุรี
-เทศบาลตำบลบ้านนิเวศน์
-เทศบาลตำบลนิเวศน์
-เทศบาลตำบลธงธานี
-เทศบาลตำบลอุ้มเม้า
-เทศบาลตำบลมะอึ

อำเภอโพนทอง
-เทศบาลตำบลโพนทอง
-เทศบาลตำบลโคกสูง
-เทศบาลตำบลโคกกกม่วง
-เทศบาลตำบลโนนชัยศรี
-เทศบาลตำบลโพธิ์ทอง
-เทศบาลตำบลแวง

อำเภอเสลภูมิ
-เทศบาลตำบลเสลภูมิ
-เทศบาลตำบลขวาว
-เทศบาลตำบลเมืองไพร
-เทศบาลตำบลนาแซง
-เทศบาลตำบลนาเมือง
-เทศบาลตำบลวังหลวง
-เทศบาลตำบลเกาะแก้ว
-เทศบาลตำบลหนองหลวง
-เทศบาลตำบลพรสวรรค์
-เทศบาลตำบลท่าม่วง

อำเภอโพธิ์ชัย
-เทศบาลตำบลชัยวารี
-เทศบาลตำบลเชียงใหม่
-เทศบาลตำบลคำพอุง
-เทศบาลตำบลอัคคะคำ

อำเภอหนองพอก
-เทศบาลตำบลหนองพอก
-เทศบาลตำบลท่าสีดา

อำเภอสุวรรณภูมิ
-เทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ
-เทศบาลตำบลจำปาขัน
-เทศบาลตำบลหินกอง
-เทศบาลตำบลทุ่งกุลา
-เทศบาลตำบลทุ่งหลวง
-เทศบาลตำบลดอกไม้

อำเภอเมืองสรวง
-เทศบาลตำบลเมืองสรวง
-เทศบาลตำบลหนองหิน
-เทศบาลตำบลคูเมือง
-เทศบาลตำบลกุกกง

อำเภอโพนทราย
-เทศบาลตำบลโพนทราย
-เทศบาลตำบลสามขา

อำเภออาจสามารถ
-เทศบาลตำบลอาจสามารถ
-เทศบาลตำบลโพนเมือง

อำเภอเมยวดี
-เทศบาลตำบลชุมพร
-เทศบาลตำบลเมยวดี
-เทศบาลตำบลบุ่งเลิศ
-เทศบาลตำบลชมสะอาด

อำเภอศรีสมเด็จ
-เทศบาลตำบลศรีสมเด็จ
-เทศบาลตำบลโพธิ์ทอง
-เทศบาลตำบลบ้านบาก

อำเภอจังหาร
-เทศบาลตำบลจังหาร
-เทศบาลตำบลดินดำ
-เทศบาลตำบลดงสิงห์
-เทศบาลตำบลผักแว่น

อำเภอหนองฮี
-เทศบาลตำบลหนองฮี

อำเภอเชียงขวัญ
-เทศบาลตำบลเชียงขวัญ

อำเภอทุ่งเขาหลวง
-ไม่มีเทศบาล

ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ประกอบด้วย สัญลักษณ์รูปบึงพลาญชัย ศาลหลักเมือง พระมหาเจดีย์ศรีชัยมงคล ตัวเลข 101 และรวงข้าวหอมมะลิ
ความหมาย :
– พลาญชัย เป็นบึงน้ำใสสะอาดตั้งอยู่กลางเมือง บ่งบอกว่าประชาชนชาวจังหวัดร้อยเอ็ด มีน้ำใจโอบอ้อมอารี รักความสงบและมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์
– ศาลหลักเมือง เป็นที่เคารพสักการะและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวร้อยเอ็ด
– พระมหาเจดีย์ชัยมงคล บ่งบอกถึงความเป็นเมืองแห่งพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรือง
– ตัวเลข 101 แสดงถึง ความเป็นเมืองใหญ่ในอดีตที่ชื่อสาเกตนคร
– รวงข้าวหอมมะลิ เป็นผลิตผลทางการเกษตรชั้นเลิศที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจากทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดร้อยเอ็ด

คำขวัญประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
สิบเอ็ดประตูเมืองงาม เรืองนามพระสูงใหญ่
ผ้าไหมสาเกต บุญผะเหวดประเพณี
มหาเจดีย์ชัยมงคล งามน่ายลบึงพลาญชัย
เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ

ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด


-ชื่อพันธุ์ไม้ : ต้นกระบก
-ชื่อสามัญ : Kayu
-ชื่อวิทยาศาสตร์ : Irvingia malayana Oliv. Ex A. Benn.
-วงศ์ : SIMAROUBACEAE
-ชื่ออื่น : กระบก กะบก จะบก ตระบก (เหนือ), จำเมาะ (เขมร), ชะอัง (ซอง-ตราด), บก หมากบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (เหนือ), มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), หลักกาย (ส่วย-สุรินทร์)
-ลักษณะทั่วไป : ต้นกระบกเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนานถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม ดอกขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน
-ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
-สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
-ถิ่นกำเนิด : ตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดิบ

ดอกไม้ประจำจังหวัด


ดอกอินทนิลบก
-ชื่อพันธุ์ไม้ : อินทนิล, จ่อล่อ, จะล่อหูกวาง
-ชื่อสามัญ : Queens flower, Queens crape myrtle
-ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia macrocarpa Wall.
-วงศ์ : LYTHRACEAE
-ลักษณะทั่วไป : อินทนิล เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงประมาณ 50 ฟุต ลำต้นตรงเปลือกค่อนข้างดำหรือน้ำตาล มีตะคระขรุขระกิ่งแผ่กว้างใบมาแกมขอบขนาน ยาวประมาณ 10 นิ้ว เนื้อใบหนาเป็นมันดอกออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่ง ช่อตั้งตรง ดอกมีทั้งสีม่วง ม่วงแกมชมพู กลีบรองดอกติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 6 แฉก ผลรูปไข่เกลี้ยงยาวประมาณ 9 นิ้ว ออกดอกราวเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน การขยายพันธ์ใช้วิธีเพาะเมล็ด
อินทนิล เป็นเป็นพรรณไม้ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมและเจริญเติบโตในทุกภาคของประเทศไทย เป็นพันธ์ลักษณะที่ดี มีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง อายุยืนนานใบสีเขียวเข้ม ลักษณะใบเดี่ยว ดอกสีม่วง ม่วงชมพู มีฉายานามว่าเป็น “ราชินีดอกไม้”( Queens Flower ) ฝักผลไม่ยอมทิ้งต้น มีสายพันธ์อีกหลายชนิดในวงค์เดียว มีดอกเป็นลักษณะQeens crape myrtle เช่น ตะแบก, เสลา และยี่เข่ง เป็น Qrape myrtle เหมือนกัน
-ขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
-สภาพที่เหมาะสม : สภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
-ถิ่นกำเนิด : ตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดิบ

สัตว์น้ำประจำจังหวัด

ปลาหลดจุด (Macrognathus siamensis)

เครื่องดนตรีประจำจังหวัด

โหวด

แหล่งท่องเที่ยว
-บึงพลาญชัย
-หอโหวดร้อยเอ็ด
-พระมหาเจดีย์ชัยมงคล
-ทุ่งกุลาร้องไห้
-น้ำตกถ้ำโสดา

ประเพณี วัฒนธรรม
-ประเพณีบุญผะเหวด
-ประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ
-ประเพณีบุญบั้งไฟพนมไพร
-ประเพณีบุญบั้งไฟโพนทราย
-ประเพณีลอยกระทง (สมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป)

วิสัยทัศน์/พันธกิจจังหวัดร้อยเอ็ด
แผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2561 – 2564 ฉบับปี พ.ศ. 2562 ได้จัดทำบนพื้นฐานของกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 รวมทั้ง การนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพทั่วไป ปัญหาและความต้องการของประชาชน ตลอดจนการประเมินผลการพัฒนาที่ผ่านมา ศักยภาพการพัฒนาในปัจจุบัน และโอกาสในการพัฒนาในอนาคตของจังหวัด โดยนำมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค มาจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. 2561-2564 ฉบับปี พ.ศ. 2562 ซึ่งสรุปได้ ดังนี้

1. เป้าหมายการพัฒนา
“เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูง ท่องเที่ยววัฒนธรรมอีสานและเมืองสุขภาพ ในปี พ.ศ.2564”

2. พันธกิจ

ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมเพิ่มศักยภาพการบริหารทรัพยากรและสินค้าการเกษตรให้เป็นเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย
พัฒนาให้จังหวัดเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน เชื่อมโยงการบริการ สินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้ง วัฒนธรรมอีสาน ค่านิยม และประเพณีที่ดีงาม สามารถผสมผสานกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน
พัฒนาคนให้มีคุณภาพ สร้างโอกาส สร้างอาชีพ รายได้ ให้ภาคประชาสังคม และส่งเสริมให้มีการดำเนินชีวิตตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยกระดับคุณภาพชีวิตให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ
อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ
สร้างความมั่นคงภายในและส่งเสริมการให้บริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

3.วัตถุประสงค์รวม

ข้าวหอมมะลิและผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิมีมูลค่าสูงและได้มาตรฐาน สามารถแข่งขันได้
ประชาชนมีสุขภาวะที่ดี หลุดพ้นความยากจน พึ่งตนเองได้

4.ประเด็นการพัฒนา

เพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตร สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และอาหารปลอดภัย
ยกระดับการท่องเที่ยว การบริการ การค้า และการลงทุน
พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน และสังคม ให้เข้มแข็ง
สร้างความสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีคุณภาพและยั่งยืน
รักษาความมั่นคงภายใน และการบริหารจัดการภาครัฐ

5.แผนงานตามประเด็นการพัฒนา
ประเด็นการพัฒนาที่ 1 เพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตรสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และอาหารปลอดภัย

วัตถุประสงค์ของประเด็นการพัฒนา

เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตร มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย
เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการเกษตรของจังหวัดเติบโตเพิ่มขึ้น
เป้าหมายและตัวชี้วัด

ผลผลิตข้าวหอมมะลิเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้น (10 กิโลกรัมต่อปี)
อัตราการขยายตัวมูลค่าผลผลิตภาคการเกษตร (ร้อยละ 2 ต่อปี)
ร้อยละของจำนวนแปลงฟาร์มเป้าหมายที่ปลูกข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตรได้รับมาตรฐานเกษตรปลอดภัย/เกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 60)
พื้นที่การเกษตรแบบแปลงใหญ่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเพิ่มขึ้น 50 แปลง
ร้อยละของหมู่บ้านมีตลาดสินค้าเกษตรชุมชนในปี 2564 (ร้อยละ 50)
แนวทางการพัฒนา

พัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้และพื้นที่ที่มีศักยภาพของจังหวัดเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพสูงภายใต้มาตรฐานเกษตรปลอดภัยและอินทรีย์
ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพื้นที่นาไม่เหมาะสมไปสู่สินค้าเกษตรชนิดใหม่ หรือเกษตรกรรมทางเลือก
พัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร และแปรรูป ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้เกษตรอินทรีย์ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรให้พึ่งตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตรในท้องถิ่นและตลาดอิเล็กทรอนิกส์อย่างทั่วถึง
ประเด็นการพัฒนาที่ 2 ยกระดับการท่องเที่ยว การบริการ การค้า และการลงทุน
วัตถุประสงค์ของประเด็นการพัฒนา

เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว การบริการ การค้า และการลงทุน
เศรษฐกิจดีและมีอัตราการขยายตัวมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคนอกการเกษตรของจังหวัดเพิ่มขึ้น
เป้าหมายและตัวชี้วัด

มูลค่าการค้าและการลงทุนเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 2 ต่อปี)
รายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 5 ต่อปี)
อัตราการขยายตัวภาคบริการเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 2 ต่อปี)
รายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP เพิ่มขึ้น (ร้อยละ 10 ต่อปี)
แนวทางการพัฒนา

พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน และส่งเสริมกิจกรรมท่องเที่ยวและงานประเพณี วัฒนธรรมอีสานต่อเนื่องทั้งปี
พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง และระบบโลจิสติกส์ให้ได้มาตรฐาน
ส่งเสริมตลาดการค้า การลงทุน อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และส่งเสริมการจัดบริการ สุขภาพ (Medical Hub)
พัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน และพัฒนา SMEs เพื่อการค้าและส่งออก

ประเด็นการพัฒนาที่ 3 พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน และสังคม ให้เข้มแข็ง
วัตถุประสงค์ของประเด็นการพัฒนา

เพื่อให้คนได้รับการพัฒนาเหมาะสมตามวัย มีคุณภาพ เป็นคนดีคนเก่ง มีอาชีพมีรายได้
คนมีสุขภาวะที่ดี สังคมเข้มแข็ง
เป้าหมายและตัวชี้วัด

ร้อยละของเด็กและเยาวชนได้รับการเรียนรู้ พัฒนาทักษะชีวิตตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ร้อยละ 100)
ไอคิวของเด็ก เยาวชน อายุ 6 – 15 ปี เฉลี่ยเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2564 เท่ากับ 101
อัตราการตายของผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด มะเร็ง เบาหวาน และทางเดินหายใจเรื้อรังลดลง ร้อยละ 20
ร้อยละของผลิตภาพแรงงานจังหวัดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2 ต่อปี
ร้อยละของผู้สูงอายุเข้าสู่ระบบการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (ร้อยละ 95)
ร้อยละของครัวเรือนยากจนเป้าหมายที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ จปฐ. ลดลง (ร้อยละ 80)
แนวทางการพัฒนา

ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียมและทั่วถึง
สร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดีและสร้างเมืองสุขภาพ
สร้างความเสมอภาครองรับสังคมผู้สูงอายุ และจัดสวัสดิการสังคมให้มีคุณภาพ
พัฒนาและยกระดับผลิตภาพแรงงาน
แก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม

4 ประเด็นการพัฒนาที่ 4 สร้างความสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพและยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของประเด็นการพัฒนา

เกษตรกรมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรเพียงพอตลอดทั้งปี
คืนความอุดมสมบูรณ์ สร้างความสมดุลแก่ระบบนิเวศน์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมายและตัวชี้วัด

ร้อยละของหมู่บ้านมีน้ำใช้เพื่อการเกษตรเพียงพอตลอดทั้งปี (ร้อยละ 95 ต่อปี)
พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้น จำนวน 600 ไร่/ปี
ขยะมูลฝอยชุมชนและของเสียอันตรายชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 15
ครัวเรือนมีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นต่อปี ร้อยละ 0.5
แนวทางการพัฒนา

พัฒนาแหล่งน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการน้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ฟื้นฟูป่าไม้ให้อุดมสมบูรณ์และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ต้นน้ำและป่าชุมชน
บริหารจัดการแก้ไขปัญหาขยะอย่างเป็นระบบและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ให้มีคุณภาพ
พัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ประเด็นการพัฒนาที่ 5 รักษาความมั่นคงภายในและการบริหารจัดการภาครัฐ
วัตถุประสงค์ของประเด็นการพัฒนา

ประชาชนมีความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ได้รับบริการจากหน่วยงานภาครัฐด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรม
เป้าหมายและตัวชี้วัด

ร้อยละของจำนวนคดีอาชญากรรมในคดี 5 กลุ่ม จับกุมผู้กระทำผิด (ร้อยละ 85)
จำนวนหมู่บ้านสีขาวปลอดยาเสพติด (ร้อยละ 95)
อัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกลดลง 2 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคนต่อปี
ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อหน่วยงานภาครัฐ (ร้อยละ 90)
แนวทางการพัฒนา

เสริมสร้างการมีส่วนร่วมด้านความมั่นคงภายในให้มีประสิทธิภาพ
ป้องกันและปราบปรามปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด
เพิ่มศักยภาพการเตรียมความพร้อมรองรับการเกิดอุบัติภัยทางธรรมชาติ
เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและการให้บริการภาครัฐ

แผนที่จังหวัดร้อยเอ็ด